การบรรเทาทุกข์จากนานาชาติสู่พม่า ของ เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส พ.ศ. 2551

สถานการณ์ทั่วไป

ความช่วยเหลือจากนานาชาติ

วันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 ผู้แทนของรัฐบาลทหารพม่าที่รัฐนิวยอร์กได้ร้องขอความช่วยเหลือจากสหประชาชาติอย่างเป็นทางการสำหรับความเสียหายจากพายุหมุนนาร์กิสในประเทศตน ซึ่งนานาชาติล้วนพร้อมสนองอย่างเต็มที่

อย่างไรก็ดี รัฐบาลพม่าแสดงทีท่าไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากนานาชาติ ซึ่งหลายประเทศได้เตรียมบริจาคเงินและเสบียงทั้งอาหารและยา ตลอดจนข้าวของที่จำเป็นอื่น ๆ สำหรับประเทศไทยเองได้เตรียมบริจาคเงินหนึ่งแสนดอลลาร์สหรัฐ เวชภัณฑ์สามสิบตัน และเสบียงอาหารสิบสองตันจากสภากาชาดไทย ซึ่ง นายไชยา สะสมทรัพย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขยังได้จัดส่งเวชภัณฑ์ไปช่วยเหลือพม่าอีกสิบสี่รายการ มูลค่ากว่าสิบล้านบาท ตามคำสั่งของนายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี นอกจากนี้ รัฐบาลไทยจะได้จัดส่งคณะแพทย์และพยาบาลเข้าไปช่วยเหลือยี่สิบคณะ กับทั้งหน่วยเคลื่อนที่เร็วในการปราบปรามโรคระบาดอีกยี่สิบหน่วย โดยนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า "ถ้าพม่าไฟเขียวอนุญาตให้เข้าไปช่วยเหลือ ก็ได้รับความอนุเคราะห์จากกองทัพอากาศ โดยใช้เครื่องบินซี-130 ขน (คณะและหน่วยทางการแพทย์) ไป ไทยจะพรวดพราดไปไม่ได้ ต้องแจ้งให้ทางโน้นรับทราบก่อน"[18] ซึ่งต่อมาในวันที่ 7 พฤษภาคม 2551 เครื่องบินลำดังกล่าวพร้อมด้วยบริวารได้รับอนุญาตให้ลงจอด ณ นครย่างกุ้ง โดยได้บรรทุกน้ำดื่มและอุปกรณ์การก่อสร้างขนาดเบาเป็นการเพิ่มเติมไปด้วย[19]

การปิดกั้นความช่วยเหลือจากนานาชาติ

ปัญหามีว่า รัฐบาลทหารพม่าไม่ยอมรับความช่วยเหลือจากชาติและองค์กรใด ๆ และไม่อนุมัติบัตรผ่านแดนให้แก่ชนต่างด้าว ถึงแม้ว่าบุคคลเหล่านั้นประสงค์จะเดินทางเข้าไปในประเทศเพื่อให้ความช่วยเหลือก็ตาม [20]

อนึ่ง บ่ายวันที่ 8 พฤษภาคม 2551 ตามเวลาในประเทศไทย รัฐบาลพม่าอนุญาตให้กลุ่มเที่ยวบินจากอิตาลีซึ่งบรรทุกเครื่องบรรเทาทุกข์และเจ้าหน้าที่สนามจากองค์การสหประชาชาติลงจอด ณ สนามบินย่างกุ้งแล้ว กระนั้น เจ้าหน้าที่และเครื่องบรรเทาทุกข์จากนานาชาติส่วนใหญ่ยังคงค้างอยู่ในประเทศไทยและสนามบินย่างกุ้งเพื่อรอความยินยอมจากรัฐบาลพม่าอย่างเป็นทางการ บรรดาประเทศเหล่านี้วิตกกันว่าเสบียงอาหารและเสบียงยาอาจเน่าเสียก่อนรัฐบาลพม่าอนุญาตก็เป็นได้[21]

วันที่ 9 พฤษภาคม 2551 รัฐบาลพม่ายอมรับความช่วยเหลือจากนานาชาติอย่างเป็นทางการเฉพาะภัณฑ์ต่าง ๆ แต่ไม่อนุญาตให้บุคลากรต่างชาติเข้าไปปฏิบัติหน้าที่ในประเทศตน

นักวิเคราะห์ชาวสิงคโปร์อธิบายถึงสาเหตุที่รัฐบาลพม่ายังลังเลใจในการนี้อยู่ว่า เป็นเพราะรัฐบาลพม่ากำลังรอฟังคำทำนายจากโหรอยู่ ทั้งนี้ รัฐบาลทหารพม่ามีความเชื่อและเคารพอย่างฝังจิตฝังใจในโหร[22] และการย้ายเมืองหลวงจากนครย่างกุ้งไปเป็นกรุงเนปิดอว์ใน พ.ศ. 2548 กับทั้งการสั่งให้เปลี่ยนการขับรถจากด้านซ้ายของถนนมาเป็นด้านขวาก็เป็นอีกการหนึ่งที่โหรพม่าแนะนำให้รัฐบาลกระทำ[23]

การที่รัฐบาลพม่าไม่อนุญาตให้ต่างประเทศเข้าไปให้ความช่วยเหลือ ส่วนหนึ่งมาจากความที่รัฐบาลต้องการสร้างภาพให้ประชาชนมองว่าตนเป็นที่พึ่งและผู้ให้ความสงเคราะห์หนึ่งเดียว โดยรัฐบาลได้ติดป้ายชื่อบุคคลจากกองทัพบนของที่ได้รับบริจาคจากต่างชาติแทนที่ชื่อของผู้บริจาคที่แท้จริง ซึ่งก็เป็นอีกเหตุหนึ่งที่ทำให้การช่วยเหลือผู้ได้รับความเสียหายเป็นไปโดยล่าช้า[24] [25]

แรงกดดันให้พม่าเปิดประเทศ

วันที่ 9 พฤษภาคม 2551 นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศไทย แถลงหลังจากได้รับการร้องขอจากนายเอริก จี. จอห์น (Eric G. John) เอกอัครรัฐทูตแห่งสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ว่าจะได้เยือนพม่าในวันที่ 11 พฤษภาคม เพื่อเจรจาให้พม่ายอมเปิดประเทศ และนายควินตัน ควาเย (Quinton Qquayae) เอกอัครราชทูตแห่งสหราชอาณาจักรประจำประเทศไทย แถลงว่าจะร่วมการเดินทางของนายสมัครด้วยเพื่อช่วยเจรจากับพม่าอีกแรงหนึ่ง[26]อย่างไรก็ดี รัฐบาลพม่าแถลงกลับโดยทันทีว่าขณะนี้ยังไม่พร้อมรับการเยือนของผู้ใด การเดินทางของนายสมัครจึงต้องยกเลิกไป และนายสมัครกล่าวว่าจะได้ส่งหนังสือเจรจาให้แก่พม่าให้ภายหลัง[27]

เย็นวันเดียวกันนั้น นายริชาร์ด ฮอร์เซย์ (Richard Horsey) ผู้แทนสหประชาชาติประจำประเทศไทย แถลงในกรุงเทพมหานครว่า ขอให้พม่ารับความช่วยเหลือจากนานาชาติโดยไม่ชักช้า เพราะพายุอีกลูกหนึ่งอันมีความรุนแรงเสมอพายุหมุนนาร์กิสกำลังเข้าโจมตีพม่าตามกำหนดการณฺ์พายุกระหน่ำมหาสมุทรอินเดียตอนเหนือ ประจำปี 2551 พายุลูกดังกล่าวย่อมส่งผลให้สถานการณ์เลวร้ายลงไปอีก[28]

รายการความช่วยเหลือ

จากภาครัฐ

ต่อไปนี้เป็นรายการความช่วยเหลือที่รัฐบาลทหารพม่ายอมรับแล้ว[29]

ประเทศความช่วยเหลือ
 กรีซมอบเงิน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ เวชภัณฑ์ และการบรรเทาทุกข์อื่น ๆ ตามมนุษยธรรม[30]
 แคนาดาอนุมัติเงินช่วยเหลือเร่งด่วนจำนวน 2,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ[31]
 จีนมอบเงิน 5,300,000 ดอลลาร์สหรัฐและเครื่องยังชีพจำนวนหนึ่ง
 ญี่ปุ่นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าและเต็นท์มูลค่ายี่สิบแปดล้านเยน [32]
 เดนมาร์กมอบเงิน 103,600 ดอลลาร์สหรัฐ
 ตุรกีมอบเงิน 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ[33]
 ไทยมอบเงิน 600,000 ดอลลาร์สหรัฐ เวชภัณฑ์สามสิบตัน เสบียงอาหารสิบสองตัน และอุปกรณ์การก่อสร้างขนาดเบา[34]
 นอร์เวย์มอบเงินสด 1,960,000 ดอลลาร์สหรัฐ [35]
 นิวซีแลนด์มอบเงิน 1.5 ล้านนิวซีแลนด์ดอลลาร์ (1.15 ล้านดอลลาร์สหรัฐ) [36]
 เนเธอร์แลนด์มอบเงิน 1,000,000 ยูโร
 บรูไนเครื่องยังชีพจำนวนหนึ่ง [37]
 บังกลาเทศอาหารและยารักษาโรค 20 ตัน
 เบลเยียมมอบเงิน 250,000 ยูโร
 ฝรั่งเศสมอบเงิน 3,100,000 ดอลลาร์สหรัฐ
 ฟลานเดอส์มอบเงิน 100,000 ยูโร
 ฟินแลนด์มอบเงิน 300,000 ยูโร [38]
 ฟิลิปปินส์ยารักษาโรค[39]
 มาเลเซียมอบเงิน 4,100,000 ดอลลาร์สหรัฐ
 เยอรมนีมอบเงิน 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ
 เวียดนามมอบเงิน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐ
 สเปนมอบเงิน 375,000 ดอลลาร์สหรัฐ
 สวิตเซอร์แลนด์มอบเงิน 475,000 ดอลลาร์สหรัฐในเบื้องต้น
 สวีเดนให้การช่วยเหลือด้านระบบบำบัดน้ำและเครื่องยังชีพอื่น ๆ
 สิงคโปร์200,000 ดอลลาร์สหรัฐ [40]
 ออสเตรเลียมอบเงิน 3,000,000 ดอลลาร์ออสเตรเลีย [41]
 อินเดียมอบเครื่องยังชีพ 72 ตัน ตลอดจนเต็นท์ และเสบียงอาหารอีกจำนวนหนึ่ง
 อินโดนีเซียมอบเงินสด 1,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ ตลอดจนเสบียงอาหารและเสบียงยาอีกจำนวนหนึ่ง
 ไอร์แลนด์มอบเงิน 1,500,000 ดอลาร์สหรัฐ
 ฮังการีอาหาร ยารักษาโรค มูลค่า 300,000 ดอลาร์สหรัฐ
 สหภาพยุโรปมอบเงิน 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ
 สหรัฐรัฐบาลกลางมอบเงิน 3,250,000 ดอลลาร์สหรัฐ [42]
 สหราชอาณาจักรมอบเงิน5,000,000 ปอนด์ [43]
 เช็กเกียมอบเงิน 154,000 ดอลลาร์สหรัฐ
สถานเอกอัครรัฐทูตสหรัฐอเมริกา
ประจำประเทศพม่า (U.S. embassy in Burma)
ได้อนุมัติเงิน 250,000 ดอลลาร์สหรัฐเพื่อช่วยเหลือพม่า
สำนักงานเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งสหรัฐอเมริกา
(United States Agency for International Development)
มอบเงิน 3,000,000 ดอลลาร์สหรัฐ

จากภาคเอกชน

  1. กองทุนเยาวชนแห่งสหประชาชาติ จากนครนิวยอร์ก : เจ้าหน้าที่ของกองทุนได้เข้าถึงประเทศพม่าเมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2551 และกำลังปฏิบัติการ[44] ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการรับบริจาค
  2. คณะพหุศาสตราจารย์ฝ่ายเอกคริสตเทวนิยมเพื่อการบริการสาธารณะ (Unitarian Universalist Service Committee) : ได้ร่วมกับสมาคมพหุศาสตราจารย์ฝ่ายเอกคริสตเทวนิยม (Unitarian Universalist Association) ให้การช่วยเหลือด้านทุนทรัพย์และด้านมนุษยธรรมแก่ผู้ประสบพิบัติภัยในพม่า[45] ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการรับบริจาค
  3. ประเทศอิสราเอล : ภาคเอกชนได้ร่วมกันมอบเงินหนึ่งแสนดอลลาร์สหรัฐ ตลอดจนเสบียงอาหารและเสบียงยาอีกจำนวนหนึ่ง
  4. มูลนิธิกาชาดและสมาคมโสมเสี้ยวแดงระหว่างประเทศ (Mouvement international de la Croix-Rouge et du Croissant-Rouge) : มอบเงิน 1,890,000 ดอลลาร์สหรัฐ[46]
  5. สหกรณ์ระหว่างประเทศเพื่อการช่วยเหลือและเยียวยาทุกแห่งหน (Cooperative for Assistance and Relief Everywhere) หรือ แคร์ (CARE) จากกรุงเจนีวา : ถึงแม้ว่าสำนักงานสาขาของแคร์ในนครย่างกุ้งจะถูกพายุหมุนนาร์กิสถล่มราบ แต่ก็แถลงว่ายังสามารถปฏิบัติ "การช่วยเหลือและเยียวยาทุกแห่งหน" ในพม่าต่อไปได้[47] ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการรับบริจาค
  6. องค์กรกาชาดแห่งสหภาพพม่า (Myanmar Red Cross) : ได้ประกาศขอความช่วยเหลือเป็นการด่วนแทนชาวพม่าผ่านทางเว็บไซต์ขององค์การกาชาดกลางเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 และขณะเดียวกันก็กำลังให้การช่วยเหลือผู้เสียหาย[48] ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการรับบริจาค
  7. องค์กรการกุศลแห่งสหราชอาณาจักรเพื่อการพิทักษ์เยาวชน (British charity Save The Children) : เป็นองค์กรเอกชนซึ่งมีสำนักงานสาขาในประเทศพม่า ได้จัดโครงการช่วยเหลือพม่าอย่างเต็มกำลัง (Full Scale Relief Effort) ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2551[49] ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการรับบริจาค
  8. องค์การโบสถ์โลก (World Church Service) : ได้เข้าไปร่วมช่วยเหลือชาวพม่ากับสภาโบสถ์แห่งสหภาพพม่า (Myanmar Council of Churches) ตั้งแต่วันที่ 5 พฤษภาคม 2551[50] ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการรับบริจาค
  9. องค์การแพทย์ไร้พรมแดน (Médecins Sans Frontières) จากกรุงปารีส : คณะแพทย์สนามขององค์การได้เข้าถึงประเทศพม่าเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 และกำลังปฏิบัติการ[51] ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการรับบริจาค
  10. องค์การโลกาวิทัศน์ (World Vision Organisation) จากเมืองมอนโรเวีย (Monrovia) รัฐแคลิฟอร์เนีย : ซึ่งเป็นองค์การระหว่างประเทศของคริสต์ศาสนา มีจุดมุ่งหมาย "ช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ให้อยู่ดีมีสุข โดยเฉพาะเยาวชน"[52] ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่สนามหกร้อยคนเข้าไปให้การช่วยเหลือมื่อวันที่ 7 พฤษภาคม 2551[53] ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการรับบริจาค
  11. องค์การสากลเพื่อการเยียวยาทางตรง (Direct Relief International) จากเมืองซานตาบาร์บารา (Santa Barbara) รัฐแคลิฟอร์เนีย : ได้เข้าไปปฏิบัติการภาคสนามร่วมกับองค์กรและองค์การทั้งปวงตั้งแต่วันที่ 6 พฤษภาคม 2551[54]

พระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ต่อผู้ประสบภัยพายุไซโคลนนาร์กิส

วันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานสิ่งของบรรเทาทุกข์ อันได้แก่ ผลิตภัณฑ์ของสมาชิกและกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว ในพระราชูปถัมภ์ฯ ประกอบด้วยอาหาร และเครื่องอุปโภคที่จำเป็น ได้แก่ ผ้าห่ม ผ้าโสร่ง ผ้าขาวม้า ยาหม่อง ยาดม แชมพู และสบู่ ทั้งนี้ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สำนักงานโครงการสายใยรักแห่งครอบครัว วังศุโขทัย ร่วมกับแม่บ้านสมาชิกสายใยรักแห่งครอบครัว และหน่วยบัญชาการถวายความปลอดภัยรักษาพระองค์ ดำเนินการจัดสิ่งของบรรจุหีบห่อ โดยมีภาษาอังกฤษและภาษาพม่ากำกับ เพื่อบ่งบอกชนิดและประเภทของสิ่งของพระราชทานอย่างชัดเจน พร้อมกันนี้ ได้มีพระราชบัณฑูรให้กระทรวงสาธารณสุขเป็นแกนหลักในการประสานงานจัดหน่วยแพทย์พระราชทานในพระองค์ ไปช่วยเหลือผู้ประสบภัยโดยเร็ว

อนึ่ง การพระราชทานสิ่งของดังกล่าว ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์จัดซื้อจากกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร อันนับเป็นพระราโชบายที่ได้ประโยชน์หลายสถาน กล่าวคือ ราษฎรไทยได้มีรายได้จากการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ให้แก่โครงการสายใยรัก ในพระราชูปถัมภ์ฯ และราษฎรพม่าก็ได้รับสิ่งของช่วยเหลือบรรเทาทุกข์ที่มีคุณภาพและตรงกับความต้งอการ ในขณะเดียวกัน ยังเป็นการกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศระหว่างประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้นอีกด้วย

จากนั้น ในวันที่ 17 พฤษภาคม พ.ศ. 2551 กระทรวงสาธารณสุข จึงได้ส่งหน่วยแพทย์พระราชทานในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร จำนวน 30 คน พร้อมเครื่องมือผ่าตัด ยา และเวชภัณฑ์ ขึ้นเครื่องบิ่นซี-130 ของกองทัพอากาศ ไปประเทศพม่า เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจากพายุไซโคลนนาร์กิสเป็นเวลา 2 สัปดาห์

แม้ขณะนั้น รัฐบาลพม่าจะยังแสดงท่าทีปฏิเสธความช่วยเหลือจากนานาประเทศด้วยเหตุผลหลายประการ แต่ด้วยเหตุที่ผู้ประสบภัยชาวพม่ากำลังประสบปัญหาด้านสุขภาพอนามัยอย่างรุนแรง ประกอบกับได้คำนึงถึงพระราชไมตรีของพระราชวงศ์ไทยและไมตรีจิตของประชาชนชาวไทยที่มีต่อชาวพม่า จึงอนุญาตให้ประเทศไทยส่งแพทย์และพยาบาล เข้าไปช่วยเหลือด้านการแพทย์แก่ประชาชนชาวพม่าได้เป็นกรณีพิเศษ

การเดินทางไปครั้งนี้ เป็นการทำงานร่วมกันระหว่างคณะแพทย์ไทยและคณะแพทย์ของประเทศพม่า คณะแพทย์ที่ไปสามารถให้บริการตรวจรักษาผู้ป่วยได้ทั้งในสถานพยาบาล และเคลื่อนที่ไปให้บริการในพื้นที่ประสบภัยต่าง ๆ แบ่งการทำงานออกเป็น 4 กลุ่ม ตรวจรักษาผู้ป่วยทั่วไปได้ประมาณวัน 800 ถึง 1,000 ราย ผ่าตัดใหญ่ได้วันละประมาณ 20 ถึง 30 ราย และนอกจากคณะแพทย์ชุดแรกแล้ว สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เตรียมหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ คณะควบคุมป้องกันโรคที่มีประสบการณ์พร้อมเวชภัณฑ์และวัสดุอุปกรณ์ อีกกว่า 100 คน เป็นคณะที่ 2 ซึ่งสามารถเดินทางเข้าช่วยเหลือทันทีเมื่อประเทศพม่าร้องขอเพิ่มเติม

รายการคำบรรเทาทุกข์

  1. ประเทศไทย : พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ประมุขแห่งรัฐ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี และนายนพดล ปัทมะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ มีพระราชสารและสารลงวันที่ 6 พฤษภาคม 2551 ไปถึงพลเอกอาวุโสตาน ฉ่วย ประธานสภาสันติภาพและการพัฒนาแห่งสหภาพพม่า แสดงความเสียพระราชหฤทัยและเสียใจในนามประชาชนชาวไทยต่อเหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิสในพม่า[55]

แหล่งที่มา

WikiPedia: เหตุการณ์พายุหมุนนาร์กิส พ.ศ. 2551 http://www.worldvision.com.au/emergency/myanmarCyc... http://www.abc.net.au/am/content/2008/s2237462.htm... http://www.bt.com.bn/en/home_news/2008/05/08/brune... http://www.ctv.ca/servlet/ArticleNews/story/CTVNew... http://www.abs-cbnnews.com/storypage.aspx?StoryId=... http://www.channelnewsasia.com/stories/singaporelo... http://www.christianitytoday.com/ct/2005/003/18.50... http://www.cnn.com/2008/WORLD/asiapcf/05/06/myanma... http://www.cnn.com/2008/WORLD/asiapcf/05/06/myanma... http://ap.google.com/article/ALeqM5greyFH3qkj9mc9o...